วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

7 เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล


โฟกัสที่ตา

หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและ แสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดู เหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่ กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่ จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็ มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยัง สามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก

pic_01

อย่าตัดบริเวณข้อต่อ

หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบ ภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อ ต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้น อาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า

pic_02

 

สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน

เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก

pic_03

ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น

ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิด ได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่าย ภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูง ครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่าย ไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ

pic_04

Window light

การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคล ให้มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น
pic_05

ถ่ายภาพย้อนแสง

หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำ และได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)

จาก สามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้นผม ได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ
pic_06

การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้อง ให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของ เราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการ ถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์

pic_07


                                                                                                                                                                ที่มา : http://my.sony.co.th

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

TAKE A Photo.

เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : มารู้จัก "bokeh (โบเก้)"

 

 Bokeh คืออะไรนั้น โบเก้แปลตาม ภาษาญี่ปุ่นว่า "เบลอ" แต่ถ้าเอาจริงๆ ในการถ่ายภาพ
จะใช้เรียกรูปแบบของการ Out of Focus (DOF) หรือการปรากฏของพื้นที่ในภาพถ่ายที่หลุด
โฟกัส นั่นคือการถ่ายหน้าชัดหลังเบลอนั่นเอง ส่วนใหญ่เราจะชินกับคำว่าว่า แสงระยิบระยับ
โดยเมื่อแสงนั้นถูกเบลอ ก็คือ Bokeh ที่เรากำลังพูดถึงกันนั่นเอง

 

 

ทำไมบางภาพถึงมี โบเก้ และบางภาพ ไม่มีโบเก้?
   
     เราจะเห็นโบเก้ได้ชัดจาก จุดที่มีแสงลอดผ่านมาเป็นจุดๆ เช่น หลอดไฟ ช่องใบไม้
เป็นต้น โดย
สิ่งที่จำเป็นต่อการเกิด โบเก้ อย่างแรกเลย "แสง" แน่ล่ะ ถ้าไม่มีแสงก็เกิดไม่ได้แน่นอน แต่ต้องเป็นแสงที่มีแหล่งกำเนิดเป็นจุดๆ ด้วยนะ

     อย่างที่สอง เลนส์ที่ใช้ ควรมีรูรับแสงที่กว้าง เช่น 1.8 2.0 2.8 เลขยิ่งน้อย โบเก้ก็จะ
ใหญ่โต สวยงามตามไปด้วย และรูปร่างของโบเก้นั้น จะเป็นไปตามรูปทรงของ รูปรับแสง
มีตั้งแต่ 8 เหลี่ยม 6 เหลี่ยม 5 เหลี่ยม เป็นต้น

     อย่างที่สาม เลนส์ที่ใช้ ควรเป็นเป็นที่มีระยะเป็นเทเลโฟโต้ (เลนส์ซูมนั่นเอง) ควรที่
จะมีช่วงตั้งแต่ 50mm เป็นต้นไป จะเห็นได้ชัด

     อย่างที่สี่ ถ่ายให้หลังเบลอที่สุดเท่าที่ทำได้ และฉากหลังมีแหล่งกำเนิดแสง รูปร่าง
รูปทรงของโบเก้ ไม่ได้มีแต่ทรงกลมเท่านั้น แต่ยังมีหลายแบบเช่น ทรงหลายเหลี่ยม หัวใจ
ดาว (2อย่างหลังต้องใช้อุปกรณ์ช่วย)
 

นอกจากนี้ั ยังเอาโบเก้ไปประยุกต์ กับการถ่ายภาพประเภทต่างๆ ได้ เช่นการ
ถ่ายภาพ
พอทเทรตหรือการถ่ายภาพบุคคล เพื่อให้ภาพน่าสนใจมากขึ้น

 

  Credit : http://www.dek-d.com/content/photo/32125/