วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเภทกล้อง

ประเภทของกล้องถ่ายรูป





1.กล้องคอมแพ็ค (compact) เป็นกล้องที่ใช้งานง่ายมากเพียงเปิด กดชัตเตอร์ ก็จะได้รูปออกมาชมแล้ว กล้องจะมีขนาดเล็ก พกพาง่าย และสามารถแต่งภาพในกล้องได้ด้วย อีกทั้งยังมีความคมชัดที่มากด้วย แต่ไม่สามารถตั้งค่าเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้มาก และมีข้อจำกัดเรื่องการซูม (Zoom) ที่ซูมได้น้อย (แต่รุ่นใหม่ๆก็มีการซูมได้เยอะ)

2.กล้องโปรซูมเมอร์ (Prosumer)  เป็นกล้องที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถปรับตั้งค่าเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้มากขึ้น มีการซูมที่มากขึ้น และคุณภาพของภาพที่มากขึ้น บางรุ่นสามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้ เช่น แฟลช ตัวเสริมเลนส์ แต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น ปรับค่าที่ยังไม่สามารถปรับได้ทั้งหมด และกล้องประเภทนี้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้


3.กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)  แปลตามตัวก็คือ กล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว จะเห็นได้ตามที่มืออาชีพใช้กัน เป็นกล้องที่มีขนาดใหญ่ ให้คุณภาพของภาพที่สูง และสามารถปรับค่าเกี่ยวกับการถ่ายภาพได้ทุกอย่าง มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถใส่อุปกรณ์เสริมได้หลายอย่าง และสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งหมายความว่า ทำให้ได้ภาพที่หลากหลาย และคุณภาพของภาพที่มากขึ้นนั่นเอง




ที่มา : http://techorpic.blogspot.com/2013/06/novice-ep1.html


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

10 เทคนิคการถ่ายภาพอย่างง่าย

 10 เทคนิคการถ่ายภาพอย่างง่าย

 

 

1. ทำกล้องให้มั่นคงไม่สั่นไหว

ปัญหา หาการถ่ายภาพออกมาแล้วไม่ชัดถือว่าเป็นปัญหาหลัก แต่มีเทคนิคง่ายๆที่ สามารถทำได้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าภาพที่ออกมาจะไม่มีสั่น ไหว สิ่งที่ดีที่จะช่วยไม่ให้ภาพสั่นไหวคือ การใช้ขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพ แต่ถ้า คุณไม่มีขาตั้งกล้อง หรือไปใน สถานที่ไม่สามารถนำขาตั้งกล้องไปได้ ก็ให้หา สถานที่หรือสิ่งของที่สามารถวางกล้องได้ เช่น บนโต๊ะ, ฝากระโปรงรถ, หรืออะไรก็ ตามที่สามารถวางกล้องได้ แต่ถ้ายังไม่มีอยากให้ทำตามวิธีง่าย 4 ขั้นตอนตามนี้
1. ถือกล้องด้วย 2 มือ
2. ให้ข้อศอกอยู่ในระดับหน้าอก และให้แขนแนบชิดกับลำตัว
3. อย่าเกรงปล่อบตัวตามสบาย
4. หายใจลึกๆ และให้กลั้นหายในระหว่างที่กำลังจะกดซัตเตอร์ เพื่อไม่ให้มือสั่นในระหว่างการกดซัตเตอร์

2. การถ่ายภาพแนวนอนกับแนวตั้ง

ใน การถ่ายภาพนั้นอยากให้ลองถ่ายรูปในแบบแนวนอน ปกติ และ แบบแนวตั้งดูบ้าง ในบางสถานการณ์การ ถ่ายภาพแบบแนวตั้งและแนวนอนจะให้อารมณ์ของ ภาพที่ออกมานั้นต่างกันไปด้วย เช่น ในการถ่ายภาพตึก หรือต้นไม้ หรือวัตถุที่มีความสูง เมื่อถ่ายภาพในแนวตั้ง จะแสดงออกถึงความสูงได้อย่างเด่นชัด และถ้า ต้องการจะสื่อให้เห็นถึงความกว้าง ก็ให้ถ่ายในลักษณะ แนวนอน ซึ่งจะเหมาะสมกับการถ่ายภาพวิว

3. การวางเส้นขอบฟ้าในการถ่ายวิว

เทคนิค ในการถ่ายภาพวิวให้สวยนั้นควร คำนึงถึงการจัดองค์ประกอบของภาพด้วย โดยเฉพาะ เส้นขอบฟ้า โดยเฉพาะเมื่อคุณ ต้องการที่จะเน้นท้องฟ้าที่สวยงาม โดยที่ให้ คุณจัดองค์ประกอบภาพโดยให้ ท้องฟ้าอยู่ ต่ำลงมา แต่ถ้าต้องการ เน้นวัตถุ หรือ วิว ที่อยู่ข้างหน้าก็ให้เน้นที่วัตถุโดยให้ เส้นขอบ ฟ้าอยู่ในระดับสูงในภาพ

4. Rule of Third

นอก เหนือจากการวางองค์ประกอบของภาพให้อยู่ตรงกลางของภาพแล้ว อยากให้ ลองวิธีการวางองค์ประกอบของภาพแบบใหม่ๆดูกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ ขั้นแรกให้แบ่ง หน้าจอ LCD บนตัวกล้องของคุณออกเป็น 9 ส่วน เหมือนในภาพ ทีนี้ลองวางสิ่งที่ ต้องการเน้นในภาพ เช่น ภาพคนให้อยู่จุดที่เส้นแนวตั้งและแนวนอนตัดกัน โดยวิธีนี้ จะทำให้มีความสมดุลและเป็นธรรมชาติมากกว่าให้คนอยู่ตรงกลางของภาพ ยิ่งไป กว่านั้นถ้าให้ดวงตาของคนในภาพอยู่ระหว่างจุดตัด จะทำให้ภาพดูนุ่มนวลกว่าอยู่ ตรงกลาง หรือถ้าคุณต้องการถ่ายภาพวิวโดยจะเน้นส่วนไหนก็ให้ส่วนนั้นที่ต้องการ จะเน้น มีส่วน 2 ต่อ 3 ในภาพ

5. ช่วงเวลาในการถ่ายภาพ

ช่วง เวลาในการถ่ายภาพนั้นก็มีส่วนสำคัญในการถ่ายภาพ เหมือนกันโดยช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพที่แจ้งก็ คือ ตอนเช้าโดยที่แสงอาทิตย์ในยามเช้านั้นจะให้อารมณ์ ของ ความเป็นธรรมชาติหรือถ้าจะถ่ายดวงอาทิตย์ ช่วง ตอนเย็นๆ ก่อนพระอาทิตย์จะตกเต็มที่ก็จะให้แสงที่ สวยงาม แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ควรจะเลี่ยงในการ ถ่ายภาพก็คือ ช่วงกลางวัน หรือตอนบ่ายโมงถึง บ่าย สองโมง เนื่องจากแสงอาทิตย์ช่วงเวลานี้จะให้แสงจ้าไม่ เป็นธรรมชาติ

6. ถ่ายภาพให้ใกล้ขึ้น

การถ่ายให้ใกล้กับวัตถุมากขึ้นนั้นก็สามารถเปลื่ยนอารมณ์ และสื่อให้เห็นความสวยงาม
ของภาพได้มากยิ่งขึ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายภาพ ดอกไม้ที่สวยงาม หรือ แจกัน
คริสตัล โดยการถ่ายภาพระยะใกล้นั้นสามารถทำได้ อย่างง่ายโดยใช้โหมดถ่ายภาพ
Marco ซึ่งมีอยู่ในกล้อง Cyber-shot ทุกรุ่น

7. การถ่ายภาพแบบมีเงาหรือมีเงาสะท้อน

นอก เหนือจากการถ่ายรูปวิว หรือ รูปบุคคลแบบปกติแล้ว การเล่นกับเงาของวัตถุ หรือการสะท้อนของเงากับ กระจก, ผิวน้ำ สิ่งที่สะท้อนเงาได้ ก็ถือเป็นแสดงอารมณ์ของภาพอีกรูปแบบหนึ่ง นอกเหนือจากการถ่ายรูปแบบปกติ

8. นำสิ่งที่ต้องการเน้นออกจากตรงกลางของภาพ

การ วางภาพไว้ตรงกลางนั้นก็ถือว่าเป็นภาพที่สวยแล้ว แต่ถ้าลองเปลื่ยนตำแหน่งให้มาอยู่ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวานั้น ก็จะทำให้ภาพหรือสิ่งที่ต้องการเน้นดูมีสีสันแล้วมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น โดยสามารถใช้หลักการ Rule of Third ที่ได้นำเสนอในเบื้องต้นมาประยุกต์ประกอบกันได้

9. คุณรู้จักระยะแฟลชของกล้องคุณหรือเปล่า?

สิ่ง หนึ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในการถ่ายภาพด้วยแฟลชนั้นคือ ถ่ายภาพที่อยู่ระยะเกินกว่าระยะของแฟลช ทำไมถึงถือเป็นข้อผิดพลาดก็เพราะว่า ภาพที่ถ่ายอยู่เกินระยะแฟลชนั้นจะทำให้ภาพ, ฉากหลัง หรือวัตถุ นั้นมืดไม่สวยงาม ดังนั้นควรจะรู้ว่าระยะแฟลชของกล้องนั้นมีระยะเท่าไร แต่ถ้าไม่รู้ก็ให้ลองเล่นกับแฟลชดู แต่โดยปกติแล้วระยะของแฟลชจะอยู่ที่ 1-3 เมตร ดังนั้นควรให้อยู่ระยะที่ปลอดภัยที่สุดคือ ไม่เกิน 1 เมตร

10. เทคนิคการใช้แฟลช

บาง คนอาจจะคิดว่าแฟลชนั้นใช้เฉพาะถ่ายภาพตอนกลางคืน แต่จริงๆแล้ว แฟลชนั้นก็สามารถใช้ในสถานการณ์ที่มีแสงสว่างพอแต่ในหน้าบุคคลในภาพมี ความมืดมาก ก็สามารถใช้แฟลชช่วยในการทำให้ใบหน้ามีความสว่างยิ่งขึ้น อันนี้สามารถใช้ในกรณีถ่ายภาพย้อนแสงได้ด้วย

ที่มา http://my.sony.co.th/tips/064_CyberShot/tipn064_th.html