วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อธิบายคำสั่ง


<?php
$sql ="select * from student order by id asc "; //กำหนดตัวแปร $sql ให้เลือกทั้งหมดของตาราง student และให้เรียงจากน้อยไปมาก
$query=mysql_query($sql) or die(mysql_error()); //กำหนดตัวแปร $query ให้ประมวลตัวแปร $sql และตรวจ error
$num=mysql_num_rows($query); //กำหนดตัวแปร $num โดยมาจากการนับจำนวน row ของตัวแปร $query
echo $num; //แสดงผลของตัวแปร $num
?>

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

if-else

<?php
$score=75;
if($score < 50)
{echo 'grade 0';}
else if($score < 55)
{echo 'grade 1';}
else if($score < 60)
{echo 'grade 1.5';}
else if($score < 65)
{echo 'grade 2';}
else if($score < 70)
{echo 'grade 2.5';}
else if($score < 75)
{echo 'grade 3';}
else if($score < 80)
{echo 'grade 3.5';}
else{echo 'grade 4';}

?>

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป





  เนื่องจากกล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ มีราคาแพง และค่อนข้างบอบบาง ดังนั้นย่อมต้องการการระมัดระวังบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. การจับถือกล้องถ่ายรูป ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
  1. ใช้สายสะพายกล้องคล้องคอเสมอ เพื่อป้องกันการตกหล่น กระทบกระแทก อันอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้
  2. ใช้มือซ้ายรับน้ำหนักตัวกล้องในขณะถ่ายรูป ให้ฐานกล้องอยู่บนอุ้มมือนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้มือข้างซ้ายใช้สำหรับแต่งความคมชัด และรูปรับ รับแสงที่ต้องการ
  3. ใช้มือขวาจับตัวกล้องด้านขวามือ หัวแม่มือใช้ในการเลื่อนฟิล์มขึ้นชัดเตอร์ และนิ้วชี้กดลั่นไก นอกจากนั้นนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ยังใช้ปรับเปลี่ยน ความเร็วชัดเตอร์บนตัวกล้อง
  4. ทิ้งน้ำหนักตัวให้อยู่ระหว่างเท้าทั้งสอง โดยแยกเท้าให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อเป็นหลักอันมั่นคงในการทรงตัว
  5. แขนทั้งสองแขนแนบชิดลำตัว แต่ไม่เกร็งทั้งนี้เพื่อให้กล้องนิ่งมือไม่สั่น เพราะถ้ามือสั่นแล้วภาพที่ได้จะไหว
  6. ในบางกรณีอาจต้องการยืนพิงผนัง ต้นไม้ รั้ว เป็นต้น เพื่อให้ได้ภาพสวยงาม โดยเฉพาะในเวลาถ่ายรูปที่แสงไม่พอ จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ ๆ ตั้งแต่ 1/30 ลงมา การจับถือกล้องให้นิ่งทำได้ลำบาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคดังกล่าว และใช้สายลั่นไกแทนการกดที่ปุ่มลั่นไกก็ได้
  7. ในขณะกดชัดเตอร์ถ่ายรูปกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่ จนกว่าการถ่ายรูปจะเสร็จสิ้นควรระลึกเสมอว่า ปุ่มกดชัดเตอร์จะทำงาน เมื่อถูกกดลงไปประมาณ 2 ใน 3 และถ้าต้องการให้กล้องนิ่งมั่นคงยิ่งขึ้นอาจใช้สายกล้องคล้องคอ แล้วพันที่มือขวาอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยในการยึดกล้องได้ดีมาก
2. การเก็บรักษากล้องและอุปกรณ์ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
  1. ใช้กล้องอย่างระมัดระวัง การปรับเปลี่ยนปุ่มความไวแสงและขนาดรูรับแสงต้องทำอย่างช้า ๆ เพราะกล้อง อาจชำรุดเสียหายถ้ากลไกต่าง ๆ ไม่เข้าที
  2. ปิดสวิทส์เครื่องวัดแสงทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
  3. ไม่วาง หรือเก็บกล้องในที่สั่นสะเทือนเพราะอาจทำให้กล้องเสียหายบุบสลายหรือกลไกบางส่วนไม่ทำงานได้
  4. ห้ามใช้น้ำมันหยอดทุกส่วนของกล้อง มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถหยอดน้ำมันได้ ซึ่งควรถอดชิ้นนั้น ๆ มาหยอดน้ำมันข้างนอกแต่ถ้าหากไม่แน่ใจ ไม่ควรหยอดน้ำมันเอง
  5. เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับวงแหวนความคมชัดของเลนส์ ไว้ที่ระยะไกลสุดขอบฟ้า ที่เรียกว่า ระยะอินพินิติ้ (Infinity)
  6. เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับรูรับแสงให้มีขนาดโตเต็มที่เช่นเลนส์ที่มีความ ไว F 1.2 ต้องปรับไว้ที่ F1.2 ทั้งนี้เพื่อลดการทำงานของสปริงบังคับหน้ากล้อง
  7. มื่อเลิกใช้งานต้องตั้งความเร็วชัดเตอร์ไว้ที่ B (Brief หรือ Bulb) และไม่ควรขึ้นชัตเตอร์ เอาไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
  8. ศึกษาคู่มือการใช้กล้องให้เข้าใจถ่องแท้
  9. ควรเก็บกล้องไว้ในซองหรือกระเป๋ากล้องเสมอ
  10. ไม่ควรเก็บกล้องไว้ในที่ ๆ ร้อนจัด เช่น ในรถยนตร์ หรือที่ชื้นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดราขึ้นได้
  11. ควรมียากันชื้นหรือพวกซิลิกอนเจล ติดอยู่ภายในกระเป๋ากล้องเสมอ
  12. ไม่ควรเก็บกล้องรวมกับเสื้อผ้า เพราะความชื้นสูงอาจทำให้กล้องและเลนส์เกิดเชื้อราได้ง่าย
  13. ระมัดระวังอย่าให้ละอองน้ำ หรือน้ำทะเลสัมผัสกล้อง ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำจืดที่สะอาด ๆ พอหมาด ๆ เช็ดตัวกล้องทันที และถ้าถูกเลนส์ต้องใช้ น้ำยาเช็ดเลนส์ และกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดทันทีเช่นกัน
  14. การเก็บกล้องไว้นาน ๆ โดยไม่ได้ใช้ต้องนำออกตรวจสอบการทำงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยปฏิบัติเหมือนการถ่ายรูปปกติ หรืออาจจะนำมา เพียงขึ้นชัดเคอร์ และกดลั่นไกเพื่อให้ระบบการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ๆ 2.15 ถ้ากล้องเกิดการชำรุดขัดข้องอย่าซ่อมด้วยตนเองถ้าท่านไม่รู้วิธีการซ่อม อย่างจริงจัง ควรจัดส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานได้ ตรวจซ่อมให้ และโปรดระลึก เสมอว่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย 
ขายไอเดีย!! สายคล้องกล้องพลังงานแสงอาทิตย์ ชาร์จไฟไปเดินถ่ายไป
 

เป็นผลงานการออกแบบที่ดูเข้าท่าดีไม่น้อยเหมือนกันกับสายคล้องกล้อง พลังงานแสงอาทิตย์ โดยสาคล้องกล้องตัวนี้จะช่วยชาร์จไฟให้กับกล้องตัวโปรดของคุณยามออกไปถ่าย รูป ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมดระหว่างทริป เพราะสายคล้องกล้องตัวนี้จะชาร์จไฟผ่านช่องต่อสาย DC โดยอาศัยแผงโซลาร์เซลล์บนสายเป็นตัวสร้างพลังงานนั่นเอง สำหรับผลงานการออกแบบนี้เป็นของ Weng Jie เห็นแล้วก็บอกได้เลยว่าน่าใช้ แต่วางขายที่ไหน ค้นหาแล้วไม่เห็นมี สงสัยยังเป็นแค่ไอเดียอยู่

 


ภาพเหตุการณ์ปล่อยจวรด LADEE ของ NASA พร้อมกบ!!

 ลองดูภาพถ่ายนี้ดูครับ แล้วดูว่ามีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษ นี่คือภาพการปล่อยจรวด LADEE (Lunar Atmosphere and Dust Environment Explorer) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาชั้นบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์ ภารกิจนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศรวมถึงฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น จากดวงจันทร์เพื่อทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะ



กลับเข้ามาเรื่องภาพถ่ายกันต่อดีกว่า ภาพนี้ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ด้วยกล้องที่ติดตั้งทริกเกอร์ถ่ายภาพให้อัตโนมัติ และหนึ่งในภาพถ่ายนั้นมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในภาพด้วยตรงบริเวณกลุ่มควัน นั่นคือ กบนั่นเอง!! ภาพดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าไม่ได้มีการรีทัชภาพแน่นอน และ NASA เองก็ยอมรับว่ากบตัวดังกล่าวในภาพนั้นมันอยู่เหนือการควบคุมจริงๆ

 

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการเลือกซื้อเลนส์กล้อง DSLR 




  เลนส์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ดังนี้
1. เลนส์มาตรฐาน (Standard Lens)
2. เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens)
3. เลนส์เทเล (Telephoto Lens)

 เลนส์มาตรฐาน (Standard Lens) เลนส์ประเภทนี้จะให้มุมมองระหว่าง 45-55 องศา ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสายตาคนเรา พูดง่ายๆ คือสายตาเรามองเห็นอย่างไร เมื่อมองผ่านเลนส์ก้ได้ภาพที่ไม่มีความแตกต่าง ซึ่งภาพที่ได้จากเลนส์ชนิดนี้จะดูเป็นธรรมชาติ ไม่บิดเบือน จนบางครั้งทำให้ภาพดู “ธรรมดา” ไป เลนส์ชนิดนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ถือได้ว่าเป็นเลนส์สารพัดประโยชน์ตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งความยาวโฟกัสคือ 50 มม. (กล้องฟูลเฟรม) หรือ 35 มม. (กล้องตัวคูณ) นั่นเอง

 เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lens) สำหรับเลนส์ชนิดนี้ก็มีหลากหลายรูปแบบและความยาวโฟกัส โดยเริ่มตั้งแต่ 8-35 มม. เลนส์ชนิดนี้ยิ่งกว้าง ก็ยิ่งต้องใช้งานแบบเฉพาะด้าน ซึ่งถ้าเป็นเลนส์แบบกว้างมากๆ  ภาพที่ออกมาจะบิดเบือนสูง ช่วงเลนส์มุมกว้างที่ถือได้ว่ามีประโยชน์และสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย จะอยู่ในช่วงระหว่าง 24-28 มม. (กล้องฟูลเฟรม) หรือ 17-18 มม. (กล้องตัวคูณ สำหรับการใช้งานนั้น เลนส์มุมกว้างนี้ เหมาะที่สุดสำหรับการใช้งานในสถานที่แคบๆ เพราะอะไรถึงเหมาะกับสถานที่แคบ ก็เพราะว่าสามารถเก็บภาพได้กว้างกว่าที่ตาเรามองเห็น และอีกอย่างเลยเหมาะมากสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ หรือ ภาพเพราะว่ามีความชัดและลึกสูง ทำให้ได้ภาพที่ต้องการความคมชัดทั้งภาพนั้นทำได้ค่อนข้างง่ายเลยทีเดียว

เลนส์เทเล (Telephoto Lens) ต่อมาก็ประเภทสุดท้ายคือเลนส์เทเลซึ่ง คุณสมบัติหลักของเลนส์เทเล ก็คือสามารถทำให้เราถ่ายภาพวัตถุหรืออะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ไกลๆ ได้เสมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อมเรา ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับเหล่าช่างภาพกีฬาหรือช่างภาพที่ภาพภาพสัตว์ป่า ที่ต้องถ่ายภาพในระยะไกล นอกจากนี้เลนส์เทเลยังสามารถนำมาดัดแปลงใช้กับภาพวิวทิวทัศน์ในกรณีที่ต้อง การเรารายละเอียดเฉพาะส่วนของทิวทัศน์ได้ ยังไม่หมดค่ะสำหรับประโยชน์ของเลนส์ประเภทนี้ คือนอกจากที่กล่าวมาแล้วเลนส์เทเล ยังเหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลหรือวัตถุใดก็ตาม ในกรณีที่ต้องการแยกตัวแบบออกจากฉากหลัง เมื่อเราโฟกัสที่ตัวแบบ หรือ วัตถุ ฉากหลังก็จะเบลอ ทำให้บุคคลหรือวัตถุเด่นชัดขึ้นมา ทำให้ภาพถ่ายมีมิติและสวยขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

มือใหม่อยากซื้อกล้อง

  สำหรับบทความนี้ TechXcite หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้มือใหม่ที่อยากเล่นกล้อง DSLR ได้อ่าน และได้ข้อคิดก่อนตัดสินใจซื้อกล้อง DSLR สักตัว สำหรับผู้ที่มองหากล้อง DSLR อยู่ คงอยากรู้ว่าจะต้องเลือกกล้องรุ่นไหน ยังไง ซื้อตัวไหนดีระหว่าง....กับ..... ซึ่งคำถามเหล่านี้จะผุดขึ้นในหัวทุกครั้งของมือใหม่ที่กำลังลังเลและมองหากล้อง DSLR ดีๆสักตัวไว้ใช้งาน นี่คือคำแนะนำในการคิดเลือกซื้อกล้อง DSLR ที่ TechXcite อยากจะแนะนำ เพราะไม่สามารถอธิบายเฉพาะเจาะจงเป็นยี่ห้อหรือรุ่นได้หมด และไม่สามารถฟันธงได้ว่ายี่ห้อไหนดีกว่ายี่ห้อไหนได้ ซึ่งหลายท่านเองมักจะมีคำถามคล้ายๆกันว่า Canon หรือ Nikon ดีกว่ากัน เป็นต้น (จริงๆแล้วยังมีอีกหลายยี่ห้อ เช่น Sony Pentax)





 
 1. ถามตัวเองก่อนว่า พร้อมจะใช้ DSLR หรือยัง เพราะหากคุณเป็นมือใหม่จริงๆที่ไม่เคยจับกล้อง DSLR และไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องถ่ายภาพ ขอแนะนำว่าไม่ควรใช้ DSLR แม้กล้อง DSLR จะช่วยให้ได้ภาพสวยมากๆก็จริง แต่ความสวยนั้นต้องแลกมาด้วยราคาและที่สำคัญ "ไม่ง่ายอย่างที่คิด" แน่นอนว่าคุณต้องเสียเงินเพื่อแลกกับสารพัดเลนส์ที่ช่วยให้เก็บภาพได้ตามที่ต้องการ เลนส์มาโครสำหรับถ่ายแมลง ถ่ายดอกไม้ ราคาไม่ต่ำกว่าหมื่น หากอยากถ่ายวิวกว้างๆ ต้องซื้อเลนส์มุมกว้างซึ่งราคากว่า2หมื่น ยังไม่นับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น แฟลช กระเป๋า เมมโมรี่การ์ด แถมคุณยังต้องมางงกับสารพัดเมนูที่กล้อง DSLR อาจทำให้กลายเป็นกล้องที่ถ่ายแล้วไม่สวยก็เป็นได้ ดังนั้นถามตัวเองว่าพร้อมแล้วใช่ไหมสำหรับการเล่นกล้อง DSLR หากคุณพร้อมแล้วที่จะใช้กล้อง DSLR และเป็นมือใหม่ที่พร้อมเรียนรู้ อ่านข้อต่อไปได้เลย

 2. เตรียมงบประมาณ เมื่อพร้อมแล้วที่จะเอาดีและรักการถ่ายภาพจริงๆ หรือมีเงินเหลือใช้แล้วอยากได้กล้อง DSLR ไว้สะพายสักตัว ขอให้คุณเตรียมงบไว้เลยว่ามีงบเท่าไรที่จะลงทุนซื้อกล้อง DSLR สักตัว แต่ที่แน่ๆถ้าเป็นของใหม่ออกห้างแน่นอนว่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่น (ซึ่งมือใหม่น้อยคนนักที่จะกล้าไปซื้อมือสองมาใช้) ดังนั้นเตรียมเงินในกระเป๋าไว้เลย และที่จะแนะนำต่อไปคือ เตรียมแค่ 2 หมื่น อาจจะไม่เพียงพอสำหรับโครงการกล้องตัวแรก เพราะคุณจะต้องซื้อฟิลเตอร์ ซื้อกระเป๋ากล้องมาอีกต่างหาก (ร้านค้าส่วนใหญ่ จะแถมฟิล์มกันรอย เมมโมรี่การ์ด ชุดทำความสะอาด หรือแม้แต่ขาตั้งกล้องที่ใช้จริงไม่ได้มาให้) เจียดงบส่วนต่างไว้อีกสัก 1000 บาทขึ้นไปสำหรับอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ด้วย สุดท้ายคือของดีย่อมมาพร้อมกับราคาที่แพงกว่า ขึ้นอยู่กับว่าซื้อมาแล้วได้ใช้เต็มประสิทธิภาพหรือเปล่า

3. เลือกรุ่นตามงบประมาณที่ได้กำหนดไว้ กำตังค์ไว้ให้ดีแล้วจัดการหาข้อมูลว่ามีกล้องรุ่นใดบ้างที่อยู่ในงบประมาณที่วางไว้ จะซื้อเลนส์หรืออุปกรณ์เสริมอื่นด้วยหรือเปล่า (แต่มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะมองหาแค่กล้องกับเลนส์คิทสักตัวก็บอกว่าพอแล้ว) แหล่งข้อมูลในปัจจุบันมีทั้ง อินเทอร์เน็ต นิตยสาร โบรชัวร์ เพื่อนๆรอบข้างที่พอมีความรู้หรือลองไปดูที่ร้านเลยก็ได้ จากนั้นจัดการรวบรวมรุ่นที่อยู่ในงบประมาณมาลองดูว่ามีรุ่นไหนบ้าง เช่นงบซื้อเฉพาะบอดี้กล้องไม่เกิน 30,000 บาท ลองดูว่ามีรุ่นไหนที่ราคาไม่เกินงบในกระเป๋าแล้วจดออกมา

4. อ่านสเป็คให้เป็นก่อน มือใหม่หลายท่านมักจะตั้งคำถามว่ารุ่นนี้ดีกว่าอีกรุ่นอย่างไร นี่เป็นเพราะว่าคุณเลือกรุ่นได้แล้วที่อยู่ในงบประมาณ แต่ไม่รู้ว่ามันต่างกันอย่างไร ทำไมอีกตัวแพงกว่าแค่ 2 พัน อีกยี่ห้อราคาเท่ากัน แล้วแบบนี้จะเลือกอย่างไรล่ะ มันต่างกันตรงไหนบ้าง ฉะนั้นคุณต้องอ่านสเป็คให้เป็นก่อนซื้อและขอบอกเลยว่าไอ้เจ้าสเป็คนี่แหละทำเอาปวดหัวเพราะมันจะสาธยายเป็นตัวเลขและศัพท์แปลกๆที่ไม่รู้ว่าจะช่วยให่เราได้รูปสวยๆจริงหรือเปล่า การอ่านสเป็คจะเป็นสิ่งที่ช่วยตัดสินใจได้ในระดับหนึ่ง เช่น ที่ราคามันต่างกัน เพราะว่า มันมีหน้าจอบิดพับได้ ใช้แฟลชไร้สายได้ พร้อมแต่งภาพในตัวกล้องได้เลย เป็นต้น หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะว่ากล้องตัวนั้นตกรุ่นราคามันเลยเท่ากับรุ่นเล็กที่ออกมาใหม่ ดังนั้นแนะนำได้เลยว่าหาความรู้เกี่ยวกับการอ่านสเป็คไว้ก่อนซื้อกล้องไม่เสียหาย ส่วนเรื่องค่ายกล้องนั้น ต้องบอกว่าแต่ละยี่ห้อก็มีเทคโนโลยีที่โดดเด่นของตัวเอง ฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณชื่นชอบยี่ห้อไหนเป็นทุนเดิมอยู่หรือเปล่า ยังไม่หมดนะ ยังไม่รวมถึงการคิดเผื่ออนาคตเมื่อต้องการอัพเกรดหรือซื้ออุปกรณ์เพิ่ม รวมถึงราคาขายต่อ (เหตุผลที่คุณเห็น Nikon และ Canon เดินกันเกลื่อนเมืองก็เพราะซื้อง่ายขายคล่องนี่แหละ ยังไม่รวมถึงอุปกรณ์เสริมที่หาง่าย มีให้เลือกหลากหลายกว่ายี่ห้ออื่นๆ)

 5. ไปลองจับตัวจริง แนะนำแบบนี้เพราะว่าคุณจะรู้สึกได้เลยว่าถูกชะตากับตัวไหน แถมได้รู้ด้วยว่าร้านไหนต้อนรับและมองคุณเป็นลูกค้ามากกว่าเป็นหมูให้ฟัน หรือบางร้านอาจจะไม่แยแส ถามคำตอบคำ แบบนี้อย่าหวังเรื่องบริการหลังการขายเลย การได้ลองตัวจริงคุณจะได้รู้ว่าจับถือถนัดมือหรือไม่ ปุ่มกดต่างๆใช้ง่ายหรือไม่ หรือหน้าตาตัวไหนถูกใจ เรียกว่ากล้องตัวไหนจับแล้วรู้สึกว่ามันกำลังยิ้มให้คุณ เลือกตัวนั้นแหละ เนื้อคู่กันแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้ดูมาแล้วทั้งสเป็กทั้งราคา เหลือแค่สัมผัสตัวเป็นๆนี่แหละ

 6. รับประกันหลังการขาย เนื่องจากปัจจุบันกล้อง DSLR มีการขายที่เรียกกันว่าประกันร้าน ประกันศูนย์ กล้องที่เรียกว่าประกันร้านนั่นก็คือกล้องที่ไม่มีการรับประกันจากบริษัทที่นำเข้าและจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ บางครั้งก็เรียกกันว่ากล้องหิ้วเพราะเปิดกล่องออกมาต้องผงะกับใบรับประกันภาษาฮิบรู แถมคู่มือการใช้งานยังเป็นภาษาฮิบรูด้วยอีกต่างหาก ยังไม่พอครับถ้าแจ็กพ็อตอาจได้กล้องที่มีแต่ภาษาอังกฤษกับภาษาฮิบรู แสดงว่าต้องหิ้วมาจากที่ไหนสักแห่งในโลกแน่ๆมันจึงพูดไทยไม่เป็น ส่วนของประกันศูนย์นั้นจะต้องมีใบรับประกันที่ออกโดยตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีคู่มือภาษาไทย และกล้องเองมีเมนูภาษาไทยด้วย (แต่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยน่าซีเรียสสำหรับกล้องรุ่นใหม่ๆเพราะมีให้เลือกแทบทุกภาษาไม่ว่าจะกล้องประกันร้านหรือประกันศูนย์) สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กล้องประกันร้านราคาถูกกว่า แต่เอาเข้าศูนย์บริการในเมืองไทยแล้วถือว่าไม่อยู่ในประกัน คุณต้องเอากล้องตัวนั้นไปเคลมกับร้านที่ซื้อมาเท่านั้น (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีบริการหลังการขายดีแค่ไหน) อยู่ที่การตัดสินใจของคุณว่าจะประหยัดเงินแล้วเสี่ยงดวง หรือ ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อความอุ่นใจ แต่สำหรับมือใหม่ขอแนะนำซื้อประกันศูนย์สบายใจกว่าครับ



  7. ก่อนซื้อใจเย็นๆแล้วรอดูโปรโมชั่น นอกเสียจากว่าคุณรีบร้อนต้องซื้อวันนี้ เดี๋ยวนี้ เพราราคาแต่ละร้านแม้ว่าจะเป็นประกันศูนย์ก็สามารถต่อรองได้นิดหน่อยถ้าจ่ายด้วยเงินสด หรืออาจจะมีโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิตที่ให้ผ่อน 0% ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน และที่น่าสนใจก็คือหากมีการจัดงานมหกรรมลดราคาต่างๆ นอกเหนือจากราคาที่ถูกกว่าปกติ ยังได้ของแถมมากมายแถมมีลุ้นชิงโชคอีกต่างหาก บางคนเคยได้กล้องราคาเท่าประกันร้านแถมได้ของแถมติดไม้ติดมือเยอะแยะ ยังไม่พอผ่อน 0% ได้แล้วเอาแต้มในบัตรเครดิตไปแลกของได้อีก เยอะจริงๆ กำเงินไว้แน่นๆ อย่าให้กิเลสครอบงำจนหน้ามืดไปคว้าของแพงมา เช็คราคาหลายๆร้านไว้ด้วยก่อนตัดสินใจ สำหรับงานมหกรรมลดราคาที่น่าสนใจก็เช่น งาน Powerbuy หรือไม่ก็งาน Photo Fair เป็นต้น

 8. ซื้อมาแล้วต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ หากจะเอาจริงเอาจังกับกล้อง DSLR เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะใช้กล้อง DSLR ถ่ายรูปไม่สวย โฟกัสไม่เข้า เบลอ วัดแสงผิด ใช้กล้องคอมแพ็กหรือกล้อง DSLR-Like ยังจะถ่ายสวยกว่า นอกจากนี้คุณจะต้องรักการถ่ายรูป ไปเที่ยวก็ถ่ายรูป ออกทริปเข้าสังคมก็เพื่ออยากถ่ายรูป เข้าเว็บ TechXcite มาอ่านบทความนี้ก็เพราะชอบเรื่องกล้องถ่ายรูป แล้วเตรียมใจไว้เลยว่าคุณจะต้องมีอุปกรณ์งอกเงยขึ้นมาแน่นอนถ้าไม่เบื่อไปเสียก่อน ^_^